ความเครียด:
ผลกระทบต่อร่างกายและพฤติกรรมของท่าน
เขียนโดย Mayo Clinic Staff
ถอดความโดย webmaster

อาการของความเครียดอาจส่งผลต่อสุขภาพของท่าน แม้ว่าท่านจะอาจไม่ได้คิดถึงมันก็ตาม คุณอาจคิดว่าที่ตัวเองป่วยก็เป็นเพราะปวดหัวอยู่เรื่อย หรือไม่ก็คิดว่าเป็นเพราะนอนไม่หลับติดต่อกันนาน ๆ หรือเป็นเพราะการงานไม่ก้าวหน้า แต่แท้ที่จริงแล้วความเครียดนั่นแหละที่เป็นตัวการสำคัญ
ผลของความเครียด
จริง ๆ แล้ว ความเครียดส่งผลต่อร่างกาย ความคิด ความรู้สึก หรือแม้แต่พฤติกรรมของท่าน การรู้ถึงอาการเครียดโดยทั่วไปแล้วสามารถช่วยท่านจัดการกับมันได้ ความเครียดที่ไม่รู้ตัวอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจโรคอ้วน และโรคเบาหวาน (แม้กระทั่งการแก่ก่อนวัย ความทรุดโทรมของร่างกาย จิตใจ ความเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย)
อาการพื้นฐานของความเครียด
ผลต่อร่างกาย | ผลต่ออารมณ์ | ผลต่อพฤติกรรม |
ปวดหัว | วิตกกังวล | กินมากเกินไป / กินน้อยเกินไป |
กล้ามเนื้อเกร็ง หรือปวดกล้ามเนื้อ | อารมณ์รุ่มร้อน ร้อนรน | บันดาลโทสะ |
เจ็บหน้าอก | ขาดแรงจูงใจ เลื่อนลอย | ดื่มสุรา เสพยาเสพติด |
อ่อนล้า | ฟูมฟาย | สูบบุหรี่ |
สมรรถภาพทางเพศถดถอย | ขุ่นเคืองใจ โกรธ | หนีสังคม |
ปวดท้อง | เศร้า ซึมเศร้า | เคลื่อนไหวน้อยลง |
ทำอย่างไรเมื่อเกิดความเครียด
ปฏิกิริยาต่อความเครียด
หากท่านเกิดอาการเครียดการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อจัดการกับความเครียดอาจมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพของท่าน มาสำรวจกลยุทธ์ที่ใช้จัดการกับความเครียดของท่าน ดังต่อไปนี้
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ฝึกเทคนิคการผ่อนคล้าย เช่น หายใจลึก ๆ ทำสมาธิ ทำโยคะ รำไทเก๊ก หรือ นวดร่างกาย
- สร้างอารมณ์ขันให้ตัวเอง
- ใช้เวลากับครอบครัว และเพื่อน ๆ
- ทำงานอดิเรกที่ชอบ เช่น อ่านหนังสือ ปลูกผักปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ ฟังเพลง
ดังนั้นจงมุ่งมั่นที่จะหาวิธีการจัดการกับความเครียดของคุณ แต่ก็คงหลีกเลี่ยงบางวิธีในการจัดการกับความเครียด เช่น ดูโทรทัศน์ ท่องอินเทอร์เน็ต หรือเล่นวิดีโอเกมนาน ๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้ อาจดูเหมือนผ่อนคลายความเครียด แต่ก็อาจเพิ่มความเครียดในระยะยาวได้เช่นกัน และที่สำคัญอย่าลืมนอนหลับให้เพียงพอ และกินอาหารที่มีประโยชน์และสมดุลเพื่อสุขภาพที่ดี

ภาพโดย Getty Images
เมื่อไรที่ควรขอความช่วยเหลือเมื่อเครียด
หากคุณไม่แน่ใจว่าความเครียดเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยหรือไม่ หรือหากคุณทำตามขั้นตอนเพื่อควบคุมความเครียดแล้ว แต่อาการของคุณยังคงอยู่ก็ให้ไปพบแพทย์ เพื่อจะได้ตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงของความเครียดของท่าน หรือท่านอาจต้องการไปพบและปรึกษาพูดคุยกับที่ปรึกษาวิชาชีพ นักบำบัด นักจิตวิทยา ที่อาจช่วยระบุแหล่งที่มาของความเครียดและเรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียดใหม่ให้ท่าน แต่เหนือสิ่งอื่นใดท่านอาจต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนถ้าหากอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะหายใจไม่ออก ปวดกรามหรือปวดหลัง ปวดแสบปวดร้อนที่ไหล่และแขน เหงื่อออกเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการหัวใจวาย และไม่ใช่เพียงแค่อาการเครียด